เทคนิคการปลูกกัญชงเพื่อตัดดอก ภายใต้ระบบปลูกแบบ Aeroponic บริษัทคุ้ม กัมปะนี จำกัด -

หากท่านต้องการคัดลอกข้อมูลบนเว็บไซต์ กรุณาทำการลงทะเบียน หรือเข้าสู่ระบบ

ฐานข้อมูลองค์ความรู้ : MJU Wisdom


เทคนิคการปลูกกัญชงเพื่อตัดดอกภายใต้ระบบปลูกแบบ Aeroponic บริษัทคุ้ม กัมปะนี จำกัด

โดย ดร.ศรายุทธ  ตรีรัตน์

การปลูกพืชระบบรากแขวนอยู่ในอากาศ หรือ แอโรโปนิกส์ (aeroponic) หมายถึง การปลูกพืชโดยที่ให้รากของพืช แขวนอยู่ในอากาศ หลักการของระบบนี้ คือ เป็นการปลูกพืช โดยที่ส่วนของรากนั้นลอยอยู่ในอากาศ แล้วจ่ายสารละลายธาตุอาหาร (nutrient solution) ให้แก่พืชโดยวิธีฉีดพ่นสารละลายเป็นฝอย (mist) หรือหมอก (aerosol) ไปที่รากพืชโดยตรงอย่างต่อเนื่อง หรือฉีดพ่นเป็นระยะๆ และสารละลายที่เหลือก็จะไหลไปรวมกันที่ ถังพัก เพื่อนนำกลับมาใช้ใหม่ ปลูกพืชในระบบรากแขวนอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น แบบกล่องสี่เหลี่ยม แบบ กระโจมสามเหลี่ยม เป็นต้น วิธีการปลูกพืชแบบนี้เป็นวิธีที่ไม่ต้องเติมออกซิเจน (oxygen) หรืออากาศลงไปใน สารละลายธาตุอาหาร รากของพืชนั้นจะได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตลอดเวลา จึงทำให้รากของพืชที่ปลูก ด้วยวิธีนี้นั้นมีการเจริญเติบโต และมีการแตกแขนงอย่างรวดเร็ว

               ก่อนที่จะบังคับให้กัญชงออกดอกต้องมีการเตรียมความพร้อมของต้นให้มีระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ช่อดอกที่สมบูรณ์และให้ผลผลิตและคุณภาพที่สูง โดยปกติแล้วจะแบ่งระยะการพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ(Vegetative growth)
    • ระยะงอกของเมล็ด (germination stage) : รากงอกโผล่พ้นเมล็ด
    • ระยะต้นกล้า (seedling stage) : มีใบจริง 4-5 คู่
    • ระยะการเจริญเติบโตด้าน กิ่ง ก้าน ลำต้น ใบ (vegetative growth)
  2. ระยะการเจริญเติบโตทางด้านการแพร่ขยายสืบพันธุ์ (Reproductive growth)
    • ระยะก่อนออกดอก (pre-flowering stage)
    • ระยะออกดอก (flowering stage)

โดยปกติแล้วกัญชงจะเป็นพืชวันสั้น (short day plant) กล่าวคือความยาวของช่วงแสงต่อวันจะมีอิทธิพลต่อระยะการเจริญในแต่ละระยะ เช่น ถ้ากัญชงได้แสงเท่ากับหรือน้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 7-21 วัน ติดต่อกันจะกระตุ้นให้เกิดการออกดอก นอกจากปัจจัยด้านแสงแล้ว การเจริญเติบโตของกัญชงยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมอื่นๆที่สำคัญที่พอจะสรุปคร่าวๆได้ดังนี้

  1. จำนวนชั่วโมงที่ได้รับแสงในแต่ละวัน
  2. ความเข้มของแสง (Lux) ที่เหมาะสมในแต่ละระยะ
  3. ความต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมในแต่ละระยะ (กำหนดโดยค่า EC และ pH ของสารละลายธาตุอาหารผ่านระบบ aeroponic)
  4. ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
  5. อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพแวดล้อมการปลูก
  6. การควบคุมโรคและแมลงศัตรู

 

 

การเก็บเกี่ยวช่อดอกกัญชงที่เหมาะสมควรเก็บเกี่ยวในระยะที่ trichomes มีสีอำพัน หรือสีน้ำตาลซึ่งเป็นระยะที่จะมีปริมาณสาร CBD มากที่สุด สังเกตุได้จากระยะนี้ช่อดอกจะมีกลิ่นที่มีความรุนแรง โดยปกติระยะการสังเกตสีของ trichomes จะมี 3 ระยะ คือ



แกลลอรี่ภาพ

ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ

ชื่อ-สกุล :

สังกัด :

ความเชี่ยวชาญ :

หลักสูตรออนไลน์ : -

หนังสือ : -

วิจัย/บทความ : -


ความรู้ที่เกี่ยวข้อง