การสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ -

หากท่านต้องการคัดลอกข้อมูลบนเว็บไซต์ กรุณาทำการลงทะเบียน หรือเข้าสู่ระบบ

ฐานข้อมูลองค์ความรู้ : MJU Wisdom


แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

1. การสร้างนวัตกรรม ต้องทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจับต้องได้ มีมูลค่าที่สูงขึ้น และ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น

2. การสร้างนวัตกรรม นอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว ต้องสามารถ ย้อนกลับมาสู่การพัฒนาชุมชนได้

ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ มีรายละเอียดของวิธีดำเนินการ ดังนี้

1. จุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

- การพัฒนาโจทย์วิจัย เป็นการริเริ่มการท าวิจัย โดยการศึกษาจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาด / ชุมชน / สังคม และสามารถ ตอบโจทย์ของการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเกิดประสิทธิผลสูงสุด

- การต่อยอดงานวิจัย เป็นการพัฒนางานวิจัยเดิม โดยผู้วิจัยต้องทำการศึกษา ค้นคว้า และนำองค์ความรู้ การทดลอง รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนา จนเกิดเป็นองค์ความรู้ งานวิจัย หรือนวัตกรรมชิ้นใหม่ที่มีความทันสมัย สามารถเพิ่มมูลค่าของชิ้นงาน นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. สำรวจความเป็นไปได้ และวิเคราะห์ความต้องการของตลาด

3. ผู้วิจัยดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และทดสอบการใช้งานในนวัตกรรมใหม่ ที่ได้พัฒนาขึ้น

4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยให้มีรูปแบบที่กลมกลืน สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความทันสมัย และสามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติที่ส าคัญของ ผลิตภัณฑ์ได้

5. ดำเนินการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ ตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีการที่หน่วยงานให้การรับรองกำหนด เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การเป็นที่ยอมรับของ ตลาดในวงกว้าง

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

1. ผู้วิจัยต้องมีความใฝ่รู้ คิดนอกกรอบ และสามารถนำองค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยเดิม เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และมีมูลค่าที่สูงขึ้น

2. ผู้วิจัยต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย ตอบสนองความต้องการของตลาดได้

3. ผู้วิจัยต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ

4. นำผลงานนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น เข้าร่วมประกวดในเวทีต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้นวัตกรรมดังกล่าว เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับยิ่งขึ้น

5. เครือข่ายการพัฒนางานวิจัยสู่การเป็นนวัตกรรม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะ นอกจากจะเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ จากเครือข่ายมาพัฒนาผลงาน ให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การพัฒนา ผลงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

6. สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ทำให้ผู้วิจัยมี แรงผลักดัน และมีกำลังใจ เพื่อที่จะพัฒนานวัตกรรมให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้



แกลลอรี่ภาพ

ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ

ชื่อ-สกุล : รศ. ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล

สังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ

  

ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเป็นอาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง โดยเน้นการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการเกษตร

หลักสูตรออนไลน์ :

หนังสือ :
ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากเศษเหลือทรัพยากรประมง

วิจัย/บทความ :
สภาวะที่เหมาะสมของการสกัดสารประกอบฟีนอลิกรวมในเปลือกทับทิมอบแห้ง
แบบจำลองทางคณิศาสตร์การอบแห้งของเปลือกทับทิมอบแห้งด้วยลมร้อน


ความรู้ที่เกี่ยวข้อง