การเก็บข้อมูลท้องถิ่น -

หากท่านต้องการคัดลอกข้อมูลบนเว็บไซต์ กรุณาทำการลงทะเบียน หรือเข้าสู่ระบบ

ฐานข้อมูลองค์ความรู้ : MJU Wisdom


การวางแผนก่อนการออกไปเก็บข้อมูล

ควรมีการวางแผน ก่อนการเข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในท้องถิ่นแต่ละครั้ง ตามหลักสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านเวลา และด้านสถานที่ ดังนี้

ด้านเนื้อหา หมายถึงแหล่งข้อมูล หากเป็นการเก็บข้อมูลประเภทบุคคลควรพิจารณาบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลได้ หรืออาจใช้วิธีสุ่ม โดยแบ่งเป็นเพศ วัย อาชีพ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงหรือเท่ากัน หากเป็นข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เสียง วิดีโอ ก็ควรมีการคัดกรองให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการมากที่สุด

ด้านเวลา ได้แก่ การกำหนดระยะเวลาในการเก็บข้อมูล เช่น หากเป็นข้อมูลประเภทพิธีกรรม ประเพณี ก็ต้องมีการสอบถาม หรือนัดหมายกับผู้ให้ข้อมูลล่วงหน้า หรือกลุ่มข้อมูลบุคคลที่มีต้องประกอบอาชีพ ก็ควรมีการนัดหมายเวลาล่วงหน้า

ด้านสถานที่ ควรมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีผู้สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญก่อนเป็นลำดับแรกๆ จากนั้นจึงค่อยขยายพื้นที่ย่อยออกไปตามคำบอกเล่า หรือสถานที่ที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม

เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์

การแต่งกาย

ผู้ศึกษาควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการแต่งกายเข้าพื้นที่สำรวจข้อมูล เนื่องจากการแต่งกายที่เหมาะสม ย่อมมีส่วนส่งเสริมให้ผู้ให้ข้อมูลเต็มใจตอบคำถาม  เช่น การแต่งเครื่องแบบราชการ หรือเครื่องหมายราชการ ในการเก็บข้อมูล ด้านหนึ่งอาจได้รับความเกรงใจจากผู้ให้ข้อมูล แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจก่อให้เกิดความห่างเหิน ไม่เป็นกันเอง และโดยเฉพาะหากพื้นที่นั้น มีความเปราะบางทางสังคม หรือวัฒนธรรมมากๆ อาจส่งผลให้ผู้ที่จะให้ข้อมูลเกิดความไม่ไว้วางใจ และไม่กล้าให้ข้อมูลให้มากเท่าที่ควร

ดังนั้น การสำรวจสภาพสังคม วัฒนธรรม และศาสนาของพื้นที่ และศึกษานิสัยใจคอของบุคคลที่จะให้ข้อมูล ก่อนการเข้าพื้นที่สอบถามข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการพิจารณาการแต่งกายให้เหมาะสมได้

อุปกรณ์

  • กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องจากโทรศัพท์มือถือที่มีความคมชัด สามารถบันทึกภาพได้สะดวก และชัดเจน
  • สมุดจดบันทึก
  • เครื่องบันทึกเสียง
  • ในกรณีบันทึกภาพเคลื่อนไหว ควรเตรียมกล้องวิดีโอ และขาตั้งกล้อง พร้อมปลั๊กไฟเพื่อที่จะได้ไม่ต้องหยิบยืมจากผู้ให้ข้อมูล
  • แผนที่ หรือ แผนผัง เป็นอุปกรณ์ประกอบการให้ข้อมูลที่จำเป็น เนื่องจากเวลาผู้ให้ข้อมูล เล่าถึงตำแหน่งแห่งหนใด ก็สามารถหยิบจับขึ้นมาใช้ในการชี้จุด และกำหนดตำแหน่งได้ รวมไปถึง ใช้เป็นโครงร่างสำหรับสร้างแผนที่จากความทรงจำอีกด้วย
  • กระดาษเปล่า ขนาด A4 เตรียมสำหรับสร้างแผนที่ หรือใช้ในกรณี
    ที่ต้องการวาดภาพอธิบายสิ่งของ หรือลักษณะอาคารจากความทรงจำของผู้ให้ข้อมูล

เทคนิคการเก็บขัอมูลเชิงลึก

ผู้เก็บข้อมูล ควรรู้วิธีเข้าถึงตัวผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ ควรทราบว่าผู้ใด สามารถให้ข้อมูลท่ีต้องการทราบได้บ้าง

เทคนิควิธีที่ง่ายท่ีสุด อาจเริ่มสืบเสาะหาตัวผู้รู้จากคนในหน่วยงานเดียวกัน ก่อน หรือคนในเครือข่ายหรือในแวดวงเดียวกัน หรือเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งบางทีเขาอาจให้ข้อมูลได้ว่า เรื่องที่ต้องการศึกษานั้น ควรเข้าไปสอบถามผู้ใด หรือ สามารถช่วยเป็นธุระพาไปแนะนาตัวกับผู้รู้ได้

บุคคลสาคัญต่อมา ที่ควรเข้าไปสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ พระภิกษุท่ีจาพรรษามาเป็นเวลานาน หรือเป็นผู้มีพื้นเพอยู่ในท้องถิ่นนั้น มิใช่เพิ่งย้าย มาจาพรรษา ลาดับต่อมาเป็นผู้อาวุโสของท้องถิ่นท่ีอยู่มาดั้งเดิม คนที่มีอิทธิพลกับคน ในชุมชน เช่น หัวหน้าชุมชน กานัน ผู้ใหญ่บ้าน

เทคนิคการสร้างความคุ้นเคยกับผู้ให้ข้อมูล

เทคนิคที่ ๑ การแนะนาตัว ผู้เก็บข้อมูลควรแนะนาตัว โดยบอกเล่ากับผู้ให้

ข้อมูลทราบว่า ชื่ออะไร มาจากไหน มาทา

เท่าไร นอกจากนี้ยังควรขออนุญาตผู้ให้ข้อมูล ก่อนบันทึกเสียงและจดบันทึก เพื่อให้ ทราบว่าจะนาข้อมูลไปทาอะไร และบอกสาเหตุที่เลือกเป็นกลุ่มเก็บข้อมูล และผลที่

อะไร

และใช้เวลาในการพูดคุยประมาณ

จะได้รับจากการให้ข้อมูลด้วย

เทคนิคท่ี ๒ สนทนาเรื่องทั่วๆ ไปก่อน การลงพื้นที่ครั้งแรก หรือพบปะกับ ผู้ให้ข้อมูลคร้ังแรก อาจจะยังไม่ใช้วิธีการสัมภาษณ์ หรือสอบถามมุ่งตรงประเด็นท่ี ต้องการโดยทันที แต่จะเป็นการสนทนาเรื่องทั่วๆ ไป เช่น พูดคุยสอบถามสารทุกข์

สุขดิบของผู้ให้ข้อมูล โดยประเมินจากเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือคอยสังเกตเรื่องที่ ผู้ให้ข้อมูลให้ความสนใจ และชวนพูดคุยให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง จนกระท่ัง สามารถประเมินได้ว่าผู้ให้ข้อมูล มีความพร้อมท่ีจะให้ข้อมูล จากนั้นจึงค่อยๆ พูดคุย ซักถาม โดยควรเร่ิมจากคาถามกว้างๆ ท่ีเป็นปลายเปิด แล้วค่อยขมวดเข้าประเด็นที่ ต้องการ

เทคนิคที่ ๓ หลีกเลี่ยงศัพท์วิชาการ หากเป็นระดับชาติพันธ์ุ หรือชาวบ้าน ไม่ควรอย่างย่ิงที่จะใช้ภาษาวิชาการ หรือศัพท์ภาษาต่างประเทศซับซ้อนเกินความ เข้าใจ

เทคนิคที่ ๔ หลีกเลี่ยงประเด็นเปราะบาง ผู้เก็บข้อมูล คอยสังเกตอาการ ของผู้ให้ข้อมูล หากมีประเด็นที่เปราะบาง และเร่ิมสร้างความกระทบกระเทือนต่อ ผู้ให้ข้อมูล ควรหลีกเลี่ยงประเด็นน้ันทันที เช่น การท่ีถูกลูกหลานทอดทิ้ง การคบชู้ ปัญหาเร่ืองภาระหนี้สิน หรืออาจจะถามตรงๆ ถึงความพร้อมในการตอบข้อซักถาม

เทคนิคที่ ๕ มอบของฝากให้แก่ผู้ให้ข้อมูล แม้ไม่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ หรือไม่จาเป็นต้องมีก็ได้ แต่การเตรียมของฝากเล็กๆ น้อยๆ ไปมอบให้ผู้ให้ข้อมูลนั้น ก็เป็นหนึ่งในวิธีสร้างความสัมพันธภาพในครั้งแรกได้เป็นอย่างดี สามารถสร้าง ความคุ้นเคย และเกิดความไว้ใจในการให้ข้อมูลได้ง่ายขึ้น การเตรียมของที่ระลึก มีข้อคานึงดังนี้

  กรณีสัมภาษณ์บุคคลสาคัญ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอาเภอ ผู้อาวุโส อาจเตรียมของท่ีระลึก ประเภทอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งอาจมี ค่าใช้จ่ายมาก แต่ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ก็สามารถมอบสื่อทาง วิชาการของหน่วยงานแทนก็ได้

  กรณีสัมภาษณ์หน่วยงานราชการ หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น ผู้อานวยการโรงเรียน ผู้อานวยการสานักศิลปากร ควรมอบสื่อทางวิชาการของหน่วยงาน เช่น วารสาร ส่ิงพิมพ์ หรือ รายงานสรุปองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน

กรณีสัมภาษณ์บุคคลทั่วไป หรือครูภูมิปัญญา อาจมอบขนม หรือ

อาหารทานเล่น (จากต่างพื้รนที่) เป็นของท่ีระลึกเล็กๆ น้อยๆ ตาม งบประมาณ และความเหมาะสม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขาย ขนม หรือร้านเบเกอรี ซึ่งบางร้านมีบรรจุภัณฑ์ท่ีสวยงาม และมีสินค้า ให้เลือกหลากหลาย

เทคนิคที่ ๖ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่น ผู้เก็บข้อมูลควรทาตัว กลมกลืนไปกับคนท้องถ่ิน เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมกับคนในท้องถิ่น การไปร่วม ทาบุญเมื่อคนในท้องถิ่นบอกบุญหรือเช้ือเชิญมา หรืออุดหนุนสินค้า หรือบริการของ คนในท้องถิ่น



แกลลอรี่ภาพ

ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ

ชื่อ-สกุล : เยาวภา เขื่อนคำ

สังกัด :

ความเชี่ยวชาญ :

หลักสูตรออนไลน์ :

หนังสือ :

วิจัย/บทความ :


ความรู้ที่เกี่ยวข้อง